วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความเสี่ยงและความน่าดึงดูดใจประเทศญี่ปุ่น

                                                                  ประเทศญี่ปุ่น


   
ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ
ปัจจัยเสี่ยงในอนาคตของเศรษฐกิจญี่ปุ่น ได้แก่ ปัญหาการว่างงานในระดับสูง และภาวะเงินฝืดเนื่องจากการบริโภคลดลง ความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และค่าเงินเยนที่แข็งขึ้นทำให้สินค้าญี่ปุ่นสูญเสียขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดโลก

ความน่าดึงดูดใจด้านเศรษฐกิจ
ญี่ปุ่นมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา เมื่อวัดด้วยอำนาจการซื้อญี่ปุ่นมีกำลังการผลิตที่สูงและเป็นประเทศต้นกำเนิดของผู้ผลิตชั้นนำที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น รถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร เหล็กกล้า โลหะนอกกลุ่มเหล็ก เรือ สารเคมี

ความเสี่ยงด้านการเมือง
1. รัฐบาลต่างๆ ขาดการประสานความร่วมมือกันในการกำหนดยุทธศาสตร์ที่จะละเลิกมาตรการกระตุ้น มัวแต่คำนึงถึงผลได้-ผลเสีย หรือผลประโยชน์แห่งชาติของตัวเองเป็นอันดับแรก  2. รัฐบาลญี่ปุ่นกับธนาคารกลางงัดข้อกันในเรื่องนโยบาย ทำให้มีปัญหากัน

ความน่าดึงดูดใจด้านการเมือง
ไทยและญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและราบรื่นตลอดมา ความร่วมมือระหว่างกันครอบคลุมทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม



ความเสี่ยงด้านวัฒนธรรม
         พฤติกรรมการลอกเลียบแบบวัฒนธรรม   แสดงให้เห็นคุณค่าน้อยมากสำหรับเสรีภาพส่วนบุคคล


ความน่าดึงดูดใจด้านวัฒนธรรม

วัฒนธรรมญี่ปุ่นมีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่วัฒนธรรมยุคโจมงซึ่งเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของประเทศ จนถึงวัฒนธรรมผสมผสานร่วมสมัยซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ศิลปะดั้งเดิมของญี่ปุ่นมีทั้งงานฝีมือ  การแสดง และประเพณีต่าง ๆ การผสมผสานระหว่างภาพพิมพ์กับศิลปะตะวันตก นำไปสู่การสร้างสรรค์หนังสือการ์ตูนของญี่ปุ่นที่เป็นที่นิยมทั้งในและนอกญี่ปุ่น แอนิเมชันที่ได้รับอิทธิพลมาจากมังงะเรียกว่า อะนิเมะ วงการเกมคอนโซลของญี่ปุ่นเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก  และเสน่ห์ที่น่ารักเป็นพิเศษของญี่ปุ่น คือขนบประเพณี ที่มีความสุภาพอ่อนน้อม เช่น การค้อมศรีษะต่ำ
และต้อนรับ
ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี

ความน่าดึงดูดใจด้านเทคโนโลยี
พฤติกรรมการลอกเลียบแบบวัฒนธรรม   แสดงให้เห็นคุณค่าน้อยมากสำหรับเสรีภาพส่วนบุคคล
ญี่ปุ่นเป็นประเทศแนวหน้าในการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์โดยมีภาคเอกชนเป็นผู้ลงทุนหลัก ญี่ปุ่นมีจำนวนการขอสิทธิบัตรเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกผลงานทางเทคโนโลยีของญี่ปุ่นที่สำคัญ ได้แก่อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ เครื่องจักร วิศวกรรมด้านแผ่นดินไหว หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรม สารเคมี สารกึ่งตัวนำ และเหล็ก เป็นต้น ญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในโลกเป็นประเทศต้นกำเนิดของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ 6 บริษัทจากผู้ผลิต 15 บริษัทที่ใหญ่ที่สุด และผู้ผลิตสารกึ่งตัวนำ 7 บริษัทจาก 20 บริษัทที่ใหญ่ที่สุด


        
        ที่มา    www.thaingo.org/writer/view.php?id=289

                   www.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=30853
                   www.bloggang.com/mainblog.php?id=chuk007
                  
                   www.mfa.go.th/internet/BDU/17.10.3_190749.doc

                                                                                              
                                            
 
  



วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ขนมอินเดีย

                             ความรู้สึกที่ทานขนมอินเดีย





          รู้สึกว่าขนมอินเดียมีหน้าตาสวยงาม สีสันสดใส การจัดตกแต่งดูน่ารับประทานเป็นอย่างมาก ขนมอินเดียมีรสชาติที่หวานมากเหมือนกับใช้น้ำตาลในการทำ และบางชนิดมีกลิ่นเครื่องเทศผสมอยู่ด้วย


  จากที่ได้ชิมขนมอินเดียชิ้นนี้ รูปร่างน่าตาขนมสวยงาม มีลักษณะเป็นรูปกลมๆ ข้างในเป็นเหมือนถั่วแต่มีรสชาตที่หวานมาก ที่พิเศษของขนมชิ้นนี้สามารถที่จะนำไปบูชาพระพิฆเนศได้
 ขนมชนิดนี้มีรสชาติหวานมาก มัลักษณะกลมๆมีสีน้ำตาล ข้างนอกตกแต่งด้วยถั่ว ข้างในเป็นเหมือนถั่วแต่มีกลิ่นเครื่องเทศปะปนอยู่
ขนมชนิดนี้มีกลิ่นหอม ดูน่ารับประทาน มีรสชาติหวานมาก ข้างในทำด้วยถั่ว



ที่มา  : ร้านปัญจาบสวีท แถวพาหุรัด ในตรอกอินเดีย

แก้ไข...สินค้าส่งออก

เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา...สินค้าส่งออกสำคัญของไทย


ประเทศไทยเป็นผู้ผลิต และส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารารายใหญ่ที่สุดของโลกมาตั้งแต่ ปี 2534 มีสัดส่วนการผลิตประมาณร้อยละ 30 ของผลผลิตรวมของโลก
ยางพาราทำรายได้จากการส่งออกให้กับประเทศมากเป็นอันดับสอง รองจากการส่งออกกุ้งกุลาดำ มูลค่าการส่งออกยาง ผลิตภัณฑ์ยาง และผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพารา มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 123,642 ล้านบาท
***การส่งออกเฟอร์นิเจอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ต่อปี โดยมีมูลค่า 12,253 ล้านบาท ตลาดเฟอร์นิเจอร์ของไทย ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป โดยในปี 2541 เมื่อเทียบกับปี 2540 ไทยส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้ไปญี่ปุ่นเป็นมูลค่า 188.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 22.2 สหรัฐอเมริกา 157.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 และสหภาพยุโรป 45.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 16.3 ส่วนแบ่งตลาดเฟอร์นิเจอร์ไม้ของไทยในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง โดยปัจจุปันมีส่วนแบ่งในตลาดโลกเพียงร้อยละ 1.7 ของมูลค่าส่งออกรวมของโลก โดยคู่แข่งที่สำคัญที่มีส่วนแบ่งตลาดโลกมากกว่าไทย เช่น จีน มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.9 2.0 และ 1.9 ของมูลค่าส่งออกรวมของโลกตามลำดับ คาดได้ว่าปี 2548 มูลค่าการส่งออกทั้งปีจะดีขึ้น เนื่องจากจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุด ได้รับผลกระทบ Anti-Dumping จากสหรัฐอเมริกา มีผลทำให้วัตถุดิบไม้ยางพาราเหลือใช้ในประเทศมากขึ้น

วิเคราะห์  SWOT
จุดแข็ง
1.   ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการผลิตและแปรรูปยางพารา
2.   ก่อให้เกิดการค้าระหว่างประเทศและมีการเลือกเปลี่ยนสินค้ากับ   ประเทศญี่ปุ่นมากขึ้น
3.   เกิดรายได้เข้าประเทศจากเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ซึ่งทำให้มีตลาดการค้ากว้างและขยายมากขึ้น
จุดอ่อน
1      เกิดการแย่งตลาดประเทศเวียดนามเป็นคู่แข่งทางการค้าของไทยและอาจมีโอกาสจะเจริญก้าวหน้ามากกว่าไทย
2.การผลิตมีเศษของเสียสูงและมีรอยตำหนิ
โอกาส
1.   ประเทศไทยตกลงทำการค้าแบบ FTA กับหลายประเทศ ทำให้เกิดการ ค้ากับอีกหลายๆประเทศ
2.   ประเทศไทยสามารถส่งออกไม้ยางพาราไปยังประเทศญี่ปุ่นได้เป็นจำนวนมาก
อุปสรรค
1.   สิทธิ์การเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศต้องผ่านการอนุมัติ จากกระทรวงพาณิชย์ก่อน
2.  เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
3.  ใบอนุญาตนำเข้าสินค้ามีอายุแค่ 6 เดือน







  ที่มา...www.qcparawood.com/knowledge/rubber_wood

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สินค้าส่งออก


    ไม้ยางพาราสินค้าส่งออกสำคัญของไทย

         
          


                  ประเทศไทยเป็นผู้ผลิต และส่งออกยางธรรมชาติ รายใหญ่ที่สุดของโลกมาตั้งแต่ ปี 2534 มีสัดส่วนการผลิตประมาณร้อยละ 30 ของผลผลิตรวมของโลก และมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณร้อยละ 40 ของปริมาณการส่งออกยางธรรมชาติในตลาดโลก ผลิตภัณฑ์ยางพาราที่ไทยส่งออกแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
- ผลิตภัณฑ์ยางกึ่งสำเร็จรูปหรือผลิตภัณฑ์ยางแปรรูปขั้นต้น เป็นผลผลิตจากการแปรรูปขั้นต้นจากน้ำยางที่กรีดได้ให้อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางต่อไป
- ผลิตภัณฑ์ยางสำเร็จรูป เป็นผลผลิตที่ได้จากการแปรรูปยางขั้นต้น เป็นสินค้าสำเร็จรูปประเภทต่าง ๆ เช่น ยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย สายพาน ท่อยาง ฯลฯ
ผลิตภัณฑ์ยางขั้นต้นที่แปรรูปมาจากน้ำยางดิบ แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทที่สำคัญ ดังนี้
1. ยางแผ่นรมควัน (Ribbed Smoked Sheet : RSS)
ผลิตจากน้ำยางสดโดยเติมสารเคมีให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อน แล้วรีดก้อนยางให้เป็นแผ่นด้วยเครื่องรีด และผึ่งลมให้หมาด จะได้ยางแผ่นดิบ จากนั้นจึงนำส่งโรงงานรมควัน ซึ่งจะอบยางแผ่นดิบให้แห้งโดยใช้ควันไฟรมยางให้แห้ง
2. ยางแท่ง (Technically Specified Rubber : TSR)
ผลิตจากน้ำยางสดหรืออาจใช้ยางที่จับตัวแล้วหรือยางแห้ง เช่น ยางแผ่นดิบ ยางก้นถ้วย ขี้ยาง เศษยาง เป็นวัตถุดิบก็ได้ วิธีการผลิตคือ ตัดย่อยก้อนยางให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ล้างสิ่งสกปรกออก แล้วนำยางไปอบแห้ง และอัดเป็นแท่งตามขนาดที่ต้องการ
3. น้ำยางข้น (Concentrate Latex)
ผลิตจากน้ำยางสดโดยทำให้น้ำยางมีความเข้มข้นสูงขึ้น คือมีปริมาณเนื้อยางแห้งประมาณร้อยละ 60 เพื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นต่อไป น้ำยางข้นเป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้วิธีจุ่มขึ้นรูปเช่น ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย อุปกรณ์ทางการแพทย์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ลูกโป่ง ฯลฯ
4. ยางเครป (Crepe)
ยางเครปที่ไทยผลิตได้ มี 2 ชนิด คือ เครปสีจาง (Pale Crepe) เป็นยางเครปคุณภาพดี ผลิตจากน้ำ-ยางสด อีกชนิดคือ เครปสีน้ำตาล (Brown Crepe) เป็นยางเครปคุณภาพต่ำ ผลิตจากเศษยางที่จับตัวแล้ว กรรมวิธีการผลิตยางเครปสีน้ำตาลจะยุ่งยากน้อยกว่าการผลิตยางเครปสีจาง
5. ยางอื่น ๆ เช่น
- ยางแผ่นผึ่งแห้ง เป็นยางแผ่นที่มีสีจาง มีกรรมวิธีการผลิตคล้ายกับยางแผ่นรมควัน แต่เป็นการทำให้แผ่นยางแห้งโดยใช้ความร้อนที่ไม่ใช่วิธีการรมควัน และไม่เติมสารเคมีอื่นใด
 - ยางสกิม ในการผลิตน้ำยางข้น จะมีผลพลอยได้คือ หางน้ำยางที่ยังมีปริมาณเนื้อยางหลงเหลืออยู่ประมาณร้อยละ 8 หางน้ำยางเหล่านี้จะถูกนำไปแปรรูป โดยเติมสารเคมีให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อนแล้วนำไปรีดตัด ย่อย อบ อัดแท่งเพื่อให้ได้เป็นยางชนิดสกิมบล็อก หรือนำก้อนยางที่จับตัวไปเข้าเครื่องรีดเป็นยางชนิดสกิมเครป

 ***ตลาดส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราที่สำคัญ 3 อันดับแรกระหว่างปี 2546-2548* ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 70 ส่วนแนวโน้มการส่งออกในปี 2548 การส่งออกสินค้าเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนในเดือนแรกของปี 2548 มีมูลค่า 98.70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันปี 2547 ซึ่งมีมูลค่า 90.29 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.32 คาดได้ว่าปี 2548 มูลค่าการส่งออกทั้งปีจะดีขึ้น เนื่องจากจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุด ได้รับผลกระทบ Anti-Dumping จากสหรัฐอเมริกา มีผลทำให้วัตถุดิบไม้ยางพาราเหลือใช้ในประเทศมากขึ้น
จุดแข็ง

1.      ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางพาราอันดับ 1 ของโลก
2.      ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการผลิตและแปรรูปยางพารา
3.      มีตลาดที่ส่งออกที่แน่นอน คือ ตลาดสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
4.      เป็นอุตสาหกรรมจากไม้ที่ใช้งานแล้วและมีการปลูกขึ้นมาใหม่
            

จุดอ่อน
1.   ขาดการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
2.   การผลิตไม่ทันสมัย ขาดเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพ
3.   การผลิตมีเศษของเสียสูงและมีรอยตำหนิ
4.   ประเทศเวียดนามจะเป็นคู่แข่งทางการค้าของไทย


โอกาส
1.       ประเทศญี่ปุ่นไม่สามารถที่จะผลิตต้นยางพาราเองได้ เนื่องจากสิ่ง    แวดล้อมไม่เอื้ออำนวย
2.       ประเทศไทยมีศักยภาพในการส่งออกสูงและมีภาพลักษณ์เป็นประเทศที่น่าลงทุน
3.       ประเทศไทยตกลงทำการค้าแบบ FTA กับหลายประเทศ ทำให้เกิดการค้ากับอีกหลายๆ ประเทศ
4.       ประเทศไทยสามารถส่งออกไม้ยางพาราไปยังประเทศญี่ปุ่นได้เป็นจำนวนมาก
อุปสรรค
1.ค่าจ้างแรงงานในประเทศจีนและประเทศเวียดนามมีราคาถูกกว่าประเทศไทย  ราคาวัตถุดิบคือไม้ยางพาราในประเทศมาเลเซียมีราคถูกกว่าประเทศไทย จึงทำให้ต้นทุนผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพารา มีราคาสูง อันมีผลทำให้เสียเปรียบในด้านการตลาด
2. ผู้ผลิตต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากความบกพร่องของสินค้าให้กับผู้บริโภค แม้ว่าความบกพร่องนั้นจะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ผลิตสินค้า
3.สินค้าไม้ยางพาราต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองคุณภาพ
4.การขนส่งทางเรือ สินค้าอาจจะเสียหายได้ เนื่องจากได้รับความกระทบกระเทือนจากสภาพแวดล้อม
    
             ที่มา...www.qcparawood.com/knowledge/rubber_wood
                                                       







                                                    

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การค้าระหว่างประเทศและตลาดระหว่างประเทศต่างกันอย่างไร

การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน ประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้  จึงจำเป็นต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง
การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนจากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศโดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
ต่างกัน คือ การค้าระหว่างประเทศจะมีการแลกเปลี่ยนสินค้ากันคือการนำเอาสินค้าที่ตนเองผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนสินค้ากับอีกประเทศหนึ่งทำให้ประชากรของแต่ละประเทศได้รับสินค้าและบริการได้มากขึ้น ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ประชากรมีความเป็นอยู่ดียิ่งขึ้นส่วนการตลาดระหว่างประเทศเป็นการทำธุรกิจข้ามชาติเพื่อที่หาตลาดใหม่ทำให้ประเทศสามารถจำหน่ายผลผลิตส่วนเกินจากการบริโภคภายในประเทศสู่ผู้บริโภคในประเทศอื่น ทำให้เกิดรายได้เข้าประเทศและส่งผลต่อมาตรฐานการครองชีพที่ดีของประชาชน

        ที่มา...www.webcenter.name/Business
  
      



                                             

สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น

                                                    JAPAN





 สถานที่ท่องเที่ยว 7 ภาคในประเทศญี่ปุ่น


               ภาคเหนือ
            
 ฮอกไกโด เป็นเกาะใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ถือเป็นสวรรค์ของธรรมชาติซึ่ง   สามารถจะท่องเที่ยวได้ตลอดปีมีทั้งภูเขา  ที่ราบสูง แม่น้ำ ทะเลสาบ บ่อน้ำพุร้อน และชายฝั่งทะเล มีเมืองซัปโปโร








ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( โทฮุขุ )

ภูมิภาคโทโฮขุ จะได้พบกับสถานที่ดึงดูดใจอันหลากหลายของที่ราบสูง มีภาพลักษณ์ภายนอกแบบชนบทที่เต็มไปด้วยสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ เป็นการผสมผสานกันระหว่างโลกแห่งธรรมชาติที่สดใส มีบ่อน้ำพุร้อนตามธรรมชาติอยู่ทั่วทุกที่




ภูมิภาคตะวันออก ( คันโต )




พระราชวังอิมพีเรียล แต่เดิมมีชื่อว่า พระราชวังเอโดะ ซึ่งภายในล้อมรอบด้วยคูเมือง ประตูทางเข้าที่งดงาม และป้อมปราการเก่าแก่ตั้งอยู่ห่างกันเป็นช่วงๆ ทางเข้าหลักอยู่ใกล้กับนิจูบะชิ สะพานสองชั้น





ภูมิภาคกลาง ( จูบุ )
จูบุ เป็นภูมิภาคที่ตั้งเกือบกึ่งกลางของประเทศญี่ปุ่น ที่นี่จะได้อยู่บนยอดเขาสูงของ "เจแปน แอลป์" ชายฝั่งทะเลที่ยังคงหลงเหลือความเก่าแก่และวิถีชิวิตแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นอยู่มาก






ภูมิภาคตะวันตก( คันไซ เกียวโตและนารา )

                ภูมิภาคคันไซเจริญก้าวหน้าในฐานะที่เป็นเมืองเศรษฐกิจหลักของญี่ปุ่นยาวนาน
ตั้งแต่สมัยอดีต คันไซเป็น   ภูมิภาคที่มีชีวิตชีวา ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นอย่างชัดเจนปราสาทโอซาก้า ครั้งหนึ่งเคยเป็นปราสาทที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น สร้างขึ้นในปี 1586 โดยโทโยโทมิ ฮิเดโยชิ

เกาะชิโคขุและหมุ่เกาะทะเลใน( เซโตไนไค )
เส้นทางชิมะนะมิ-ไคโดะเชื่อมต่อกับเกาะหลักฮอนชูและชิโคคุ ด้วย 7สะพานที่งดงามยิ่ง ระหว่างเส้นทางหลวงจากสะพานข้ามไปยังเกาะกลางทะเลในเซโตะ จะได้พบกับทิวทัศน์ที่สวยงามของทะเลสีฟ้า แต่งแต้มไปด้วยเรือใหญ่เล็กมากมาย และเสน่ห์ลึกล้ำของเหล่าเกาะเล็ก เกาะกลางทะเลในเซโตะ


ภาคตะวันตก ( จูโกขุ )
ภูมิภาคจูโกขุนั้น เต็มไปด้วยหมู่บ้านและเมืองที่เงียบสงบสวยงามหลายแห่งตั้งกระจายกันอยู่เป็นระยะ ลักษณะเป็นหมู่บ้านประมงชายทะเลและหมู่บ้านเล็กๆตั้งหลักแหล่งตามทิวเขา เหมาะสำหรับเยี่ยมชมทิวทัศน์ที่ชวนให้รำลึกถึงอดีตและคงกลิ่นอายของญี่ปุ่นดั้งเดิมได้อย่างดีที่สุด



                                                    สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจในประเทศญี่ปุ่น




ที่มา...www.student.chula.ac.th/~49370861/japanplace.htm