วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สินค้าส่งออก


    ไม้ยางพาราสินค้าส่งออกสำคัญของไทย

         
          


                  ประเทศไทยเป็นผู้ผลิต และส่งออกยางธรรมชาติ รายใหญ่ที่สุดของโลกมาตั้งแต่ ปี 2534 มีสัดส่วนการผลิตประมาณร้อยละ 30 ของผลผลิตรวมของโลก และมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณร้อยละ 40 ของปริมาณการส่งออกยางธรรมชาติในตลาดโลก ผลิตภัณฑ์ยางพาราที่ไทยส่งออกแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
- ผลิตภัณฑ์ยางกึ่งสำเร็จรูปหรือผลิตภัณฑ์ยางแปรรูปขั้นต้น เป็นผลผลิตจากการแปรรูปขั้นต้นจากน้ำยางที่กรีดได้ให้อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางต่อไป
- ผลิตภัณฑ์ยางสำเร็จรูป เป็นผลผลิตที่ได้จากการแปรรูปยางขั้นต้น เป็นสินค้าสำเร็จรูปประเภทต่าง ๆ เช่น ยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย สายพาน ท่อยาง ฯลฯ
ผลิตภัณฑ์ยางขั้นต้นที่แปรรูปมาจากน้ำยางดิบ แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทที่สำคัญ ดังนี้
1. ยางแผ่นรมควัน (Ribbed Smoked Sheet : RSS)
ผลิตจากน้ำยางสดโดยเติมสารเคมีให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อน แล้วรีดก้อนยางให้เป็นแผ่นด้วยเครื่องรีด และผึ่งลมให้หมาด จะได้ยางแผ่นดิบ จากนั้นจึงนำส่งโรงงานรมควัน ซึ่งจะอบยางแผ่นดิบให้แห้งโดยใช้ควันไฟรมยางให้แห้ง
2. ยางแท่ง (Technically Specified Rubber : TSR)
ผลิตจากน้ำยางสดหรืออาจใช้ยางที่จับตัวแล้วหรือยางแห้ง เช่น ยางแผ่นดิบ ยางก้นถ้วย ขี้ยาง เศษยาง เป็นวัตถุดิบก็ได้ วิธีการผลิตคือ ตัดย่อยก้อนยางให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ล้างสิ่งสกปรกออก แล้วนำยางไปอบแห้ง และอัดเป็นแท่งตามขนาดที่ต้องการ
3. น้ำยางข้น (Concentrate Latex)
ผลิตจากน้ำยางสดโดยทำให้น้ำยางมีความเข้มข้นสูงขึ้น คือมีปริมาณเนื้อยางแห้งประมาณร้อยละ 60 เพื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นต่อไป น้ำยางข้นเป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้วิธีจุ่มขึ้นรูปเช่น ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย อุปกรณ์ทางการแพทย์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ลูกโป่ง ฯลฯ
4. ยางเครป (Crepe)
ยางเครปที่ไทยผลิตได้ มี 2 ชนิด คือ เครปสีจาง (Pale Crepe) เป็นยางเครปคุณภาพดี ผลิตจากน้ำ-ยางสด อีกชนิดคือ เครปสีน้ำตาล (Brown Crepe) เป็นยางเครปคุณภาพต่ำ ผลิตจากเศษยางที่จับตัวแล้ว กรรมวิธีการผลิตยางเครปสีน้ำตาลจะยุ่งยากน้อยกว่าการผลิตยางเครปสีจาง
5. ยางอื่น ๆ เช่น
- ยางแผ่นผึ่งแห้ง เป็นยางแผ่นที่มีสีจาง มีกรรมวิธีการผลิตคล้ายกับยางแผ่นรมควัน แต่เป็นการทำให้แผ่นยางแห้งโดยใช้ความร้อนที่ไม่ใช่วิธีการรมควัน และไม่เติมสารเคมีอื่นใด
 - ยางสกิม ในการผลิตน้ำยางข้น จะมีผลพลอยได้คือ หางน้ำยางที่ยังมีปริมาณเนื้อยางหลงเหลืออยู่ประมาณร้อยละ 8 หางน้ำยางเหล่านี้จะถูกนำไปแปรรูป โดยเติมสารเคมีให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อนแล้วนำไปรีดตัด ย่อย อบ อัดแท่งเพื่อให้ได้เป็นยางชนิดสกิมบล็อก หรือนำก้อนยางที่จับตัวไปเข้าเครื่องรีดเป็นยางชนิดสกิมเครป

 ***ตลาดส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราที่สำคัญ 3 อันดับแรกระหว่างปี 2546-2548* ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 70 ส่วนแนวโน้มการส่งออกในปี 2548 การส่งออกสินค้าเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนในเดือนแรกของปี 2548 มีมูลค่า 98.70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันปี 2547 ซึ่งมีมูลค่า 90.29 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.32 คาดได้ว่าปี 2548 มูลค่าการส่งออกทั้งปีจะดีขึ้น เนื่องจากจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุด ได้รับผลกระทบ Anti-Dumping จากสหรัฐอเมริกา มีผลทำให้วัตถุดิบไม้ยางพาราเหลือใช้ในประเทศมากขึ้น
จุดแข็ง

1.      ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางพาราอันดับ 1 ของโลก
2.      ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการผลิตและแปรรูปยางพารา
3.      มีตลาดที่ส่งออกที่แน่นอน คือ ตลาดสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น
4.      เป็นอุตสาหกรรมจากไม้ที่ใช้งานแล้วและมีการปลูกขึ้นมาใหม่
            

จุดอ่อน
1.   ขาดการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
2.   การผลิตไม่ทันสมัย ขาดเครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพ
3.   การผลิตมีเศษของเสียสูงและมีรอยตำหนิ
4.   ประเทศเวียดนามจะเป็นคู่แข่งทางการค้าของไทย


โอกาส
1.       ประเทศญี่ปุ่นไม่สามารถที่จะผลิตต้นยางพาราเองได้ เนื่องจากสิ่ง    แวดล้อมไม่เอื้ออำนวย
2.       ประเทศไทยมีศักยภาพในการส่งออกสูงและมีภาพลักษณ์เป็นประเทศที่น่าลงทุน
3.       ประเทศไทยตกลงทำการค้าแบบ FTA กับหลายประเทศ ทำให้เกิดการค้ากับอีกหลายๆ ประเทศ
4.       ประเทศไทยสามารถส่งออกไม้ยางพาราไปยังประเทศญี่ปุ่นได้เป็นจำนวนมาก
อุปสรรค
1.ค่าจ้างแรงงานในประเทศจีนและประเทศเวียดนามมีราคาถูกกว่าประเทศไทย  ราคาวัตถุดิบคือไม้ยางพาราในประเทศมาเลเซียมีราคถูกกว่าประเทศไทย จึงทำให้ต้นทุนผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพารา มีราคาสูง อันมีผลทำให้เสียเปรียบในด้านการตลาด
2. ผู้ผลิตต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากความบกพร่องของสินค้าให้กับผู้บริโภค แม้ว่าความบกพร่องนั้นจะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ผลิตสินค้า
3.สินค้าไม้ยางพาราต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองคุณภาพ
4.การขนส่งทางเรือ สินค้าอาจจะเสียหายได้ เนื่องจากได้รับความกระทบกระเทือนจากสภาพแวดล้อม
    
             ที่มา...www.qcparawood.com/knowledge/rubber_wood
                                                       







                                                    

4 ความคิดเห็น:

  1. สวยงามมากค่ะ เนื้อหาดีมากค่ะ

    ตอบลบ
  2. ผลิตภัณฑ์น่าสนใจคะ เนื้อหาสมบูรณ์ จัดรูแบบได้สวยงามสะอาดตา

    ตอบลบ
  3. Do you want to do the SWOT for rubber or furniture?
    Choose one product, find a suitable article, and do the SWOT again.

    ตอบลบ
  4. สินค้าน่าสนใจ เข้าใจง่าย น่ารักดีคร้า

    ตอบลบ